ยินดีต้อนรับสู่อาณาจักรแห่งความรู้คู่ความสำเร็จ

หากท่านสนใจพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ และเรื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาเยี่ยมเยือนได้ตลอดเวลา นมัสเต....

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

สันโดษ คื อความพอเพียง


ความสันโดษหรือความพอเพียง
           คำว่า สันโดษ หลายท่านคงสับสนว่ามันคืออะไรกันแน่ 
หมายความว่าอย่างไร 
ในความหมายที่แท้จริงตามหลักทาง
พระพุทธศาสนา สันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ 
ความยินดีในสิ่งที่ตนเองหามาได้ด้วยเรี่ยวแรง
ความเพียรโดยชอบธรรม ความยินดีในปัจจัย ๔ ตามมี
ตามได้ ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ....
แบ่งออกเป็น ๓ การ คือ
            ๑.ยะถาลาภะสันโดษ หมายความว่า 
ยินดีตามได้ในสิ่งที่เรามีด้วยความสามารถนั้นๆ 
ไม่ว่าจะมีค่ามากน้อยเพียงใด 
ก็ยินดีพอใจในสิ่งที่ตนเองสรรหามาได้ 
ด้วยน้ำพักน้ำแรงเราเอง ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย 
เพราะสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาในสิ่งที่ตนเอง 
ไม่ควรได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้
โดยถูกต้องชอบธรรม 
ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ 
ไม่ริษยาเขา
            ๒.ยะถาพละสันโดษ หมายความว่า 
ยินดีตามกำลังแห่งตน ยินดีแต่พอกำลังร่างกายสุขภาพ 
และเหมาะแก่การใช้สอยของตน 
ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลัง 
เราได้สิ่งใดมาที่ไม่ถูกกับกำลังร่างกาย
หรือสุขภาพก็สลัดออกไป 
พูดง่ายๆว่าให้พอเหมาะกับกำลังสุขภาพของเรา 
เช่น เลือกทานอาหารที่ไม่มีโทษ 
ส่วนไหนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเราก็ทานเข้าไป 
ส่วนไหนที่เกินจำเป็นก็แบ่งให้คนอื่น 
อย่าเก็บเอาไว้เพราะประโยชน์ไม่เกิดกับเรา 
ฝืนใช้ย่อมเป็นโทษแก่ตนแน่นอน 
รู้จักเพียงพอแก่การบริโภคใช้สอยของเราเอง
            ๓.ยะถาสรุปปะสันโดษ หมายความว่า 
ยินดีตามสมควร ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน 
อันสมควรแก่ฐานะภาวะแนวทางชีวิต 
จุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน  
เช่น เราได้ปัจจัย๔อันประณีตอย่างใดอย่างหนึ่งมา 
แล้วพิจารณาเห็นว่ามันไม่เหมาะกับเราเลย 
ก็เอาไปมอบให้แก่คนที่เหมาะกับสิ่งนั้นๆ 
เช่นเจ้าของช้างได้ลูกช้างเผือกมา
คิดว่าไม่เหมาะแก่ตน 
แต่เหมาะสำหรับพระราชาก็ยกให้แก่พระราชา 
ตนเองก็ใช้ช้างธรรมดาซึ่งเหมาะแก่ฐานะ
และภาวะของเรา  
หรือตนเองมีโอกาสจะได้ลาภอย่างใดอย่างหนึ่ง 
แต่รู้ว่ามันไม่เหมาะแก่เราเลยก็มอบให้แก่
ผู้เหมาะสมหรือเป็นประโยชน์กับท่านผู้เชี่ยวชาญนั้น
ที่เหมาะกว่า 
ส่วนตนเองก็รับเอาเฉพาะส่วนที่เหมาะสมแก่ตน
    
ความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ย่อมมีความสุข
ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์
ถึงมีทรัพย์เป็นแสนล้านหากไม่รู้จักคำว่าเพียงพอก็เกิดทุกข์
หากมีความเพียงพอย่อมเป็นทรัพย์อันประเสริฐ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น